วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

วิธีไล่และป้องกันมดแบบปลอดภัย



laimod

       การหาอาหารของมด ถ้าดูที่ส่วนปากของมดแล้วพบว่า จะมีส่วนที่ใช้กัดและกินรวมไปถึงส่วนที่ใช้ดูดด้วย ดังนั้นมดส่วนมากสามารถดูดน้ำเลี้ยงพืชหรือของเหลวจากแมลงที่ขับถ่ายออกมาได้ รวมไปถึงการกัดและกินพืชที่ตายแล้วหรือชิ้นส่วนของสัตว์ มดงานส่วนใหญ่เป็นพวกตัวห้ำหรือกินซากสัตว์ (scavengers) อาหารของมดนั้นค่อนข้างกว้าง ประกอบด้วย สัตว์ที่ขาเป็นปล้องและเมล็ดพืช มดตัวเต็มวัยกินอาหารที่เป็นของเหลว โดยสะสมของเหลวจากเหยื่อที่จับได้หรือขณะที่ดูแลพวกเพลี้ยต่างๆ และแมลงกลุ่มอื่นๆ เหยื่อที่เป็นของแข็งนั้นก็จะนำกลับไปที่รังโดยมดงาน ตามปกติจะเป็นอาหารของตัวอ่อนมด ตัวเต็มวัยที่อยู่ในรังได้แก่ ราชินี ได้รับอาหารจำนวนมากหรือทั้งหมดจากมดงานที่หาอาหารได้โดยตรง ระหว่างที่หาอาหาร มดงานจะสะสมของเหลวซึ่งจะเก็บสะสมไว้ที่ส่วนบนของระบบย่อยอาหาร เมื่อกลับไปยังรัง มดงานเหล่านี้จะสำรองของเหลวที่สะสมไว้และผ่านเข้าไปยังมดงานตัวอื่นๆ ขณะที่มดงานส่วนมากจะกินอาหารแตกต่างกันออกไป มีมดบางชนิดเจาะจงอาหารในวงแคบๆ
      มดจำนวนมากชอบกินพวกแมลงหางดีดเป็นอย่างมาก ส่วนมดบางชนิดชอบกินไข่ของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง มดบางชนิดจะเข้าไปยังรังมดชนิดอื่นอย่างรวดเร็ว เพื่อจับตัวอ่อนมดและดักแด้ มดจำนวนมากที่มีความจำเพาะกับอาหาร ที่กินนั้นจะมีการดัดแปลงลักษณะทางสัณฐาน ตัวอย่างเช่น กรามที่พบในพวกกลุ่มตัวห้ำชั้นสูงจะเรียวยาวมาก และมีฟันขนดใหญ่ โดยเฉพาะตอนปลาย เมล็ดของพืชจำนวนมาก มีอาหารที่จำเพาะเรียกว่า elaiosomes ซึ่งจะดึงดูดมดให้เข้ามา มดจะสะสมเมล็ดโดยกินส่วนนี้เป็นอาหาร บางครั้งกินเมล็ดด้วย เมล็ดจำนวนมากยังคงงอกได้หลังจากส่วนที่มีอาหารถูกกินไป เมล็ดจะถูกวางไว้ภายในรังหรือบนกองตรงกลางที่มดสร้างขึ้นมา เป็นบริเวณที่เมล็ดจะมีการงอกในเวลาต่อมา มีความเชื่อว่าเมล็ดที่สะสมโดยมด มีโอกาสสูงมากในการงอกและรอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับ เมล็ดที่ไม่ได้มีการสะสมจากมด เนื่องจากเมล็ดถูกทำลายน้อยมาก โดยพวกกินเมล็ด และเนื่องจากเมล็ดถูกเก็บไว้ในร่มใกล้กับกองดินที่มีธาตุอาหาร
laimods
      โดยทั่วไป มดชอบออกหากินไม่ช่วงกลางวันก็กลางคืน การออกหากินของมดบางชนิดเกิดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน ในบริเวณที่แห้งแล้ง กิจกรรมการหาอาหารของมดจำนวนมากขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ บางชนิดมีกิจกรรมระหว่างช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ส่วนบางชนิดมีกิจกรรมระหว่างตอนที่ร้อนที่สุดของวัน
วิธีไล่และป้องกันมดแบบปลอดภัย
วิธีที่ 1: เปลือกไข่ไล่มด จาก หนังสือ Lisa คอลัมน์ รู้รอบครัว
วีธีการ :
ให้นำเปลือกไข่มาเผาไฟแล้วไปวางไว้ที่ๆมดเดินผ่าน มดก็จะไม่กล้ามาอีกจ้า
วิธีที่ 2 : ใช้พริกไล่มด จาก กรมส่งเสริมการเกษตร
พริก เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณ ไล่ มด เพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกะหล่ำ ไวรัส ด้วงงวงช้าง แมลง ได้
และผลสุกยังมีคุณสมบัติในการฆ่าแมลง เมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรา ใบและดอกมี สารยับยั้งการขยายตัวของไวรัส
วิธีการ :
นำพริกแห้งป่นละเอียด 100 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 1 คืนกรองเอาแต่น้ำ นำมาผสมน้ำสบู่ 1 : 5 ส่วน
ใช้ฉีดพ่น ทุก 7 วัน ควรทดลองแต่น้อย ๆ ก่อน และให้ใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจระคาย เคืองต่อผิวหนังของผู้ใช้
นำใบและดอกของพริกมาคั้นผสมน้ำไปฉีดพ่น เพื่อป้องกันการ ระบาดของไวรัส โดยฉีดก่อนที่จะมีการระบาดของไวรัส
วิธีที่ 3 : เทคนิคไล่มดจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
– ใช้ฟองน้ำเปียกๆ เช็ดตามทางมด มดจะหาทางเดินไม่เจอ
– โรยพริกป่น สะระแหน่แห้ง กากกาแฟ ตามบริเวณที่มดเดินหรือบีบมะนาวตามรูเข้าของมด
หรือทิ้งเปลือกมะนาวไว้ตรงนั้น ปลูกสะระแหน่ไว้รอบบ้าน มดจะไม่กล้าเข้าใกล้
– ใช้ผงฟูโรยตามทางของมด หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมน้ำเช็ดตามทางเดินมด แมลงสาบ
วิธีที่ 4: กำจัดมด จาก อาจารย์วิไล จิรมงคลการ นิตยสารบ้านและสวน
– หาเศษผ้าที่ไม่ใช้แล้วมาตัดเป็นชิ้น ๆ ความยาวพอประมาณ ชุบกับน้ำมันเครื่องพอหมาดหรือจาระบี แล้วนำมาพันรอบขาตู้หรือโต๊ะ หรือจะใช้ปูนขาวใส่ภาชนะรองที่ขาตู้ก็ได้ และหากพบมดไต่ขึ้นมาตามรอยแตกร้าวของคอนกรีต ให้ใช้น้ำมันก๊าดเทลงไปในร่อง มดก็จะไม่โผล่หน้าขึ้นมาให้เรารำคาญใจอีกนาน
– ใช้แป้งฝุ่นสำหรับทาป้องกันเห็บหมัดของสุนัขหรือแมวมาโรยตามพื้นหรือบริเวณที่มดขึ้นเมื่อมดเดินผ่านก็จะเกิดการระคายเคืองและตายในเวลาอันรวดเร็ว หรืออาจฝานมะนาวเป็นแผ่นบางๆ มาไปวางในบริเวณที่มดขึ้นก็ได้
– หากพบว่ามีมดขึ้นอยู่ในขวดน้ำตาลหรือขนมปังที่ใส่อยู่ในกระป๋อง ให้เราปิดฝาขวดหรือกระป๋องนั้นให้สนิท จากนั้นให้ออกแรงเขย่าเพียงเล็กน้อย แล้วเปิดฝาทิ้งไว้หรือนำไปผึ่งแดดสักครู่ มดตัวน้อยตัวนิดก็จะพากันหนีออกมาเอง
– ในกรณีที่พบรังมด ให้ใช้น้ำที่แช่หน่อไม้สดหรือหน่อไม้ดองเปรี้ยวราดไปที่รังมดจะอพยพไปอยู่ที่อื่นทันที แต่ถ้าต้องการกำจัดให้สิ้นซาก ให้ใช้การบูรและยาสูบอย่างละ 1 ส่วน นำไปแช่น้ำตั้งไฟให้เดือด จากนั้นเอาไปราดที่รัง มดก็จะตายและไม่กล้ามาทำรังอีกแน่ๆ
วิธีที่ 5 : สูตร Boric กำจัดมด เหยื่อกำจัดมดที่ปลอดภัยสูง (แมลงสาปก็ตายด้วย)
จาก เว็บไซด์ วิชาการ
วัสดุอุปกรณ์
1. เยลลี่แบบที่เด็กรับประทานเช่น PEPO
2. เนยถั่ว
3. ผง Boric Acid
ขั้นตอนการทำ
1. เอาเยลลี่มาทำให้ร้อนจนละลายหมดครึ่งถ้วย 250 cc (=125 cc)
2. เอาผง Boric Acid ใส่ลวไปประมาณ 6 % ละลายให้หมด
3. ใส่เนยถั่วลงไปประมาณ 1 ช้อนชาคนให้ทั่ว
การใช้งาน
เอาใส่ขวดพลาสติกเล็กเช่นขวดนมเปรี้ยว ไปวางตามซอกหลังตู้ในบ้าน แล้วมดจะหมดไปจากบ้านในเวลา 1 เดือน เป็นเหยื่อฆ่ามดที่ปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยงและคนที่ไม่เอาไปรับประทานโดยตรง รับรองฆ่าตายทั้งรังใน 1 เดือน แมลงสาปก็พลอยตายไปด้วย
วิธีที่ 6 : ไล่มดขึ้นข้าวสาร
บ้านไหนซื้อข้าวสารมาครั้งละมาก ๆ และเก็บไว้เป็นเวลานาน อาจจะเคยเจอปัญหามดขึ้น
ให้นำใบมะกรูดไปวางไว้ในภาชนะที่ใส่ข้าวสาร ประมาณ 4-5 ใบ แล้วฉีกเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก กลิ่นจากใบมะกรูดจะช่วยขับไล่แมลงต่าง ๆ ที่มาขึ้นข้าวสารได้ ควรหมั่นตรวจสอบไม่ให้ใบมะกรูดแห้ง เพราะจะทำให้กลิ่นจางไป ให้หาใบใหม่มาเปลี่ยน
แต่ถ้าใครไม่ชอบกลิ่นมะกรูด ให้ใช้พริกสดประมาณ 8 เม็ด ผ่าเอาเมล็ดออกเหลือไว้แต่เปลือก นำเปลือกพริกใส่ไว้ในถังข้าวสาร สามารถขับไล่แมลงได้ด้วย หรือจะใช้พริกแห้งก็สามารถแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน
อีกวิธี อาจเสี่ยงต่อการกินข้าวรสเค็ม แต่ก็ได้ผล คือ ใช้เกลือป่นโรยลงไปในถังข้าวสาร ในอัตราส่วน เกลือ 1 ช้อนชา ต่อข้าว 1 กก.
สามารถไล่มดและแมลงได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ใส่เยอะจนเกินไป
แต่วิธีที่ง่ายที่สุดคือ หาภาชนะที่ปิดได้สนิท ไว้ใส่ข้าวสาร หรือถ้ามีปริมาณที่มากเกินกว่าจะหาที่ใส่ได้
ให้ลองวิธีที่เบสิกที่สุด คือหาน้ำใส่ภาชนะไว้รองขาโต๊ะ ที่ใช้วางถังข้าวสาร วางให้ห่างจากผนัง
และคอยตรวจตราไม่ให้น้ำแห้ง เพียงเท่านี้ก็ตัดทางเดินของมดแล้ว.
วิธีที่ 7 : ไล่มดด้วยขมิ้น
คนโบราณมีวิธีไล่มดง่ายๆดังนี้ ให้เอาขมิ้นพอสมควรมาตำจนละเอียด
จากนั้นเทน้ำมันก๊าดผสมลงไป กวนให้ข้นๆ นำขมิ้นพสมน้ำมันก๊าดไปโรยบริเวณที่มีมด
มดจะหนีหายไปหมด
วิธีที่ 8 : วิธีการป้องกันมดและแมลงสาบในบ้านเรือน จาก เว็บไซด์ วัดท่าขนุน
วัสดุอุปกรณ์
– น้ำมันเหลือง
– สำลี
วิธีการทำ :
นำสำลีที่เตรียมไว้ไปชุบกับน้ำมันเหลืองแล้วนำไปวางตามจุดที่มีมดและแมลงสาบชุกชุม
อาจจะเป็นตามมุมบ้าน ซอกอับหรือในครัวเป็นต้น กลิ่นของน้ำมันเหลืองจะเป็นกลิ่นที่มดและแมลงสาบไม่ชอบ
ส่งผลให้มดและแมลงสาบไม่เข้ามาในบริเวณที่วางสำลีชุบน้ำมันเหลืองไว้
หมายเหตุ : น้ำมันเหลือง นอกจากจะใช้ในการป้องกันมดและแมลงสาบแล้ว
ยังมีสรรพคุณทางยาอีกมากมาย เช่น ยาคลายเคล็ดขัดยอก, ยาดมแก้วิงเวียนศีรษะ
วิธีที่ 9 : ใช้สารส้มกันมด
การนำสารส้มมาละลายในน้ำอุ่นที่เราต้มไว้ จากนั้นก็นำไปราดในบริเวณที่เจ้ามดได้เดินผ่าน
เท่านี้ก็จะทำให้มดนั้นก็จะหนีไปไม่มาเดินผ่านอีก แต่วิธีนี้ใช้ได้ดีสำหรับมดดำเท่านั้นนะ
เพราะมดดำกลัวสารส้ม และจะไม่มาบริเวณนั้นอีก
วิธีที่ 10 : การป้องกันที่ดีที่สุด
– การกำจัดและป้องกัน มด ที่ดีที่สุด คือการจัดการสุขาภิบาลภายในตัวบ้านการดูแลและรักษาความสะอาด
ความชื้นในห้องครัว หรือมุมอับให้สะอาดอยู่เสมอ
– การจัดเก็บขยะหรือเศษอาหารภายในบ้านควรจะทำอย่างสม่ำเสมอและทุกวัน
ไม่ควรทิ้งไว้ข้ามคืน ซึ่ง มด อาจจะเข้ามาหาอาหารและเข้ามารบกวนภายในบ้านได้
วิธีที่ 11 : สมุนไพรกำจัดมด
วัสดุที่ใช้ – พริกชี้ฟ้า 3 ขีด , น้ำมันเบนซิน 10 ซีซี , น้ำเปล่า 100 มล.
วิธีใช้ – นำพริกชี้ฟ้ามาตำ หรือปั่นจนละเอียดดี แล้วเทน้ำมันเบนซินลงไป ผสมตามด้วยน้ำเปล่า เขย่าให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปเทหยอดใส่บริเวณรังมด และใช้ทาบริเวณทางเดินของมด ก็จะช่วยกำจัดมดให้หายไป หรือลดน้อยลงไปได้พอพอสมควรเลยค่ะ
วิธีที่ 12 : พริกป่นกำจัดมด
วัสดุที่ใช้ – พริกป่นถุงใหญ่ (ประมาณ 100 กรัม) , น้ำเปล่า 1 ลิตร , น้ำสบู่
วิธีใช้ – นำพริกป่นมาผสมกับน้ำ ใส่ถังหรือหม้อทิ้งเอาไว้ 1 คืน เมื่อได้ที่แล้ว ให้กรองเอาเฉพาะกากเท่านั้น แล้วนำน้ำสบู่ประมาณครึ่งขันเทลงไปรวม คนให้เข้ากัน แล้วฉีดใส่บริเวณรังมด วิธีนี้ นอกจากจะสามารถไล่มดแล้ว ยังไล่แมลงได้อีกด้วย
วิธีที่ 13 : เปลือกไข่กำจัดมด
วัสดุที่ใช้ – เปลือกไข่ไก่ 2 ฟอง
วิธีใช้ – นำเปลือกไข่ไก่มาเผาไฟ ประมาณ 4-5 นาที แล้วนำมาตำจนกระทั่งละเอียด นำไปโรยตามทางที่มดชอบเดิน ก็เป็นการกำจัดมดที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งเลย
วิธีที่ 14 : น้ำหน่อไม้ดองกำจัดมด
วัสดุที่ใช้ – น้ำหน่อไม้ดอง อาจจะขอแบ่ง หรือซื้อหน่อไม้ดองจากตลาด ให้ได้น้ำประมาณ 2-3 แก้ว
วิธีใช้ – นำน้ำหน่อไม้ดอง ราดลงไปในรังมด และบริเวณรอบๆให้ทั่ว กลิ่นและความเปรี้ยวของหน่อไม้ดอง จะช่วยทำให้มดที่อยู่ในรัง กระจัดกระจายอยู่ในรังต่อไม่ได้
วิธีที่ 15 :น้ำส้มสายชูกำจัดมด
วัสดุที่ใช้ – น้ำส้มสายชู มีกันอยู่แล้วในห้องครัวทุกบ้าน
วิธีใช้ – ไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่นำฟองน้ำไปชุบน้ำ บิดพอหมาดๆ เช็ดตามทางเดินของฝูงมด แล้วจึงค่อยนำฟองน้ำไปชุบน้ำส้มสายชู ทาทับลงไปอีกที กลิ่นความฉุนของน้ำส้มสายชู จะทำให้มดหลงทาง จำกลิ่นทางกลับรังไม่ได้อีก



ที่มา
http://tededmeaban.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืช  ที่น่าทึ่ง...!!!



tidtangoug
การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่นำเอาส่วนตาหรือกิ่งของพืชต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพันธุ์ดีหรือ กิ่งพันธุ์ดี ไปติดเข้ากับพืชอีกต้นหนึ่ง เพื่อให้ตาของพืชเจริญเติบโตเป็นพืชต้นใหม่ต่อไป ส่วน ต้นตอ ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบราก นั้น เป็นต้นพืชที่มีความแข็งแรง หาอาหารเก่ง เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยการติดตา มีทั้งไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ผล
ลุงสุขอาหารเสริมพืช http://line.me/ti/p/%40lungsuk
การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่มีความสำคัญทางด้านการช่วยเปลี่ยนยอดต้นพืชที่มีลักษณะไม่ดี ให้เป็นพันธุ์ดีได้ ทำให้พันธุ์พืชมีความแข็งแรง ต้านทานศัตรูและความแห้งแล้งได้ดี เพราะมีต้นตอที่แข็งแรง สามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก เพราะกิ่งพันธุ์แต่ละกิ่งจะมีหลายตา นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพันธุ์ไม้ด้วย โดยเฉพาะการผลิตพืชแฟนซี ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลผลิตหลายอย่างในต้นเดียวกัน เช่น มะม่วงอกร่องมะม่วงเขียวเสวย มะม่วงน้ำดอกไม้ ในต้นเดียวกัน หรือไม้ดอก เช่น กุหลาบ จะมีดอกหลายสีในต้นเดียวกัน ฯลฯ ทั้งนี้ การติดตา สามารถ ทำได้สะดวก รวดเร็ว โดยสามารถนำตาจากกิ่งพันธุ์ดี จากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีกแหล่งหนึ่งได้ แต่อาจต้องใช้เวลาในการบังคับและเลี้ยงตาใหม่ให้เป็นต้นพืช ยาวนานกว่าการต่อกิ่ง ดังนั้นผู้ที่ทำการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการติดตา ได้ดี ต้องมีความชำนาญและประณีตในการขยายพันธุ์
tidtakla
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตา ได้แก่
  1. ) ต้นตอ
  2. ) กิ่งพันธุ์ดี
ต้นตอ หมายถึง ส่วนของต้นพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบราก หาอาหารหล่อเลี้ยงต้นพืช มี 2 ชนิด คือ
  1. ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ผล เช่น มะม่วง ขนุน ทุเรียน มะขาม เป็นต้น ต้นตอที่มีลักษณะดี จะต้องมีลำต้นตั้งตรง ไม่บิดคด หรือมีรอยต่อระหว่างต้นและราก เป็นแบบคอห่าน ซึ่งเกิดจากการวางเมล็ดลงเพาะผิดวิธี
  2. ต้นตอที่ได้จากการตัดชำ ตอนกิ่ง หรือแยกหน่อ บางครั้งเรียกว่า ต้นตอตัดชำ ส่วนมากนิยมใช้กับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ เช่น กุหลาบ ชบา เข็ม โกสน เฟื่องฟ้า ผกากรอง โมก ฯลฯ เป็นต้น ข้อเสียของต้นตอตัดชำ คือ มีระบบรากตื้น แต่ถ้านำไปเป็นต้นตอสำหรับไม้ผล จะต้องทำการเสริมราก เพิ่มขึ้น
tidta
การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น ต้นตอ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
  1. เจริญเติบโตเร็ว ปราศจากโรคและแมลง และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
  2. ขยายพันธุ์ได้ง่าย ทั้งด้วยวิธีเพาะเมล็ด ตัดชำหรือตอนกิ่ง
  3. สามารถเชื่อมต่อกับกิ่งพันธุ์ดีต่าง ๆ ได้มาก
  4. หาเมล็ดหรือต้นได้ง่าย
  5. เป็นพืชที่มีความบริสุทธิ์ของพันธุ์สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นตอที่ได้จากการเพาะเมล็ด
ตาจากกิ่งพันธุ์ดี หมายถึง ส่วนของพืชที่ทำหน้าที่เป็นระบบยอดในต้นพืช สำหรับการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา
การเลือกพันธุ์พืชสำหรับใช้เป็น กิ่งพันธุ์ดี ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
  1. เป็นกิ่งที่มีตาแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นตายอดหรือตาข้าง
  2. ควรเลือกจากกิ่งกระโดง หรือกิ่งน้ำค้าง
  3. เป็นกิ่งที่มีความสมบูรณ์ปานกลาง โดยสังเกตจากข้อ ที่ไม่ถี่หรือห่างเกินไป
  4. ตาของกิ่งพอเหมาะ คือ มีขนาดพอประมาณเท่าดินสอดำ
  5. เป็นกิ่งที่ได้จากต้นแม่ที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีโรค
  6. ถ้าเป็นกิ่งแก่ ควรมีอายุไม่เกิน 1 ปี เพราะถ้าอายุมากเกินไป ตาที่ติดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
วิธีการติดตา
การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชที่ประหยัดกิ่งพันธุ์ดี เพราะแทนที่จะใช้
กิ่งพันธุ์ดีหลายตาเหมือนการต่อกิ่ง กลับใช้กับกิ่งพันธุ์ดีเพียงตาเดียว ซึ่งจะอยู่บนส่วนของแผ่นเปลือกไม้ ซึ่งอาจจะมีเนื้อไม้หรือไม่มีเนื้อไม้ ก็ได้ ขบวนการประสานเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นจากการติดตา มีลักษณะเช่นเดียวกับการต่อกิ่งทุกประการ
เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตา
  • ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี
  • ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ
  • มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์หรือมีดติดตาต่อกิ่ง
  • กรรไกรตัดแต่งกิ่ง
  • แถบพลาสติกพันกิ่ง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการติดตาที่ได้ผลดี มีดังนี้
  1. ตาต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเจริญเติบโต และอยู่ในระยะพักตัว คือช่วงฤดูหนาว และสังเกต ตาจะนูนออกมาคล้ายๆ กับตาที่กำลังจะแตกยอดใหม่
  2. ต้นตอต้องอยู่ในช่วงที่ไม่พักตัวคือ เป็นช่วงที่กำลังเจริญเติบโต เนื้อเยื่อเจริญกำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว สังเกตจากเวลาใช้มีดกรีดเปลือกไม้จะมีน้ำยางไหลออกมา
  3. รอยแผลที่เฉือนแผ่นตาจะต้องเรียบ แผ่นตาไม่ช้ำและฉีกขาด
  4. การพันพลาสติก ควรพันให้แน่นและปิดรอยแผลไม่ให้น้ำเข้าได้ เพราะถ้าหากน้ำเข้าไปที่แผลติดตา จะทำให้ตาของพืชเน่าตายได้
  5. ตาที่ติดนั้นจะต้องทำให้เนื้อเยื่อเจริญสัมผัสกับต้นตอมากที่สุดและไม่ให้ถูกแดดจัดส่องตลอดเวลา เพราะจะทำให้ตาเหี่ยวและแห้งตาย
  6. มีดและมือจะต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรคหากเชื้อโรคเข้าแผล อาจทำให้แผลเน่าและตาไม่ติดและเน่าตายได้
วิธีการติดตา
1. การติดตาแบบตัวที (T)
เป็นวิธีการติดตาที่เปิดปากแผลบนต้นตอแบบตัว T สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนทำการติดตาแบบนี้ คือ
ต้นตอต้องสมบูรณ์ ลอกเปลือกไม้ง่าย ไม่เปราะหรือฉีกขาด และตาพันธุ์ดีสามารถลอกแผ่นตาออกได้ง่าย
ต้นตอต้องมีขนาดไม้ใหญ่โตเกินไป ควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๕ นิ้ว
  1. การติดตาแบบตัวที (T-Budding)
    1. ทำแผลบนต้นตอ โดยเลือกตรงส่วนที่ใกล้ข้อ กรีดเปลือกไม้ขวางกิ่งหรือลำต้นทำเป็นหัวตัว T ยาวประมาณ ๑-๑.๕ เซนติเมตร ลงมาในแนวขนานกับต้นหรือกิ่ง จากนั้นใช้ปลายมีดเปิดหัวตัว T และเผยอเปลือกไม้ตามแนวยาวที่กรีดไว้
    2. เฉือนกิ่งตาพันธุ์ดีเป็นรูปโล่โดยให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อย และเพื่อให้การติดตาได้สนิท ควรลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือก แผ่นตาโดยลอกจากด้านล่างของแผ่นตาขึ้นด้านบน
    3. สอดแผ่นตาพันธุ์ดีเข้าไปในเปลือกไม้รูปตัว T ให้แนบสนิทกับเนื้อไม้ของต้นตอ กรณีมีส่วนแผ่นตาพันธุ์ดีโผล่เลยหัวตัว T ให้ตัดส่วนเกินทิ้งตรงบริเวณรอยแผลหัวตัว T เดิม
    4. พันด้วยพลาสติกใสให้แน่น โดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบนแบบมุงหลังคา
  2. การติดตาแบบตัวทีแปลง (Terminal Budding) เป็นวิธีการติดตาเหมือนการติดตาแบบตัว T แต่แตกต่างกันคือ วิธีนี้จะใช้สำหรับตาที่พักตัว โดยมีวิธีทำดังนี้
    1. เปิดปากแผลต้นตอแบบตัว T แล้วเฉือนเนื้อไม้เหนือหัวตัว T ลงมาหาแผลหัวตัว T เดิม
    2. เฉือนแผ่นตาพันธุ์ดีแบบรูปโล่และตัดส่วนล่างหลังแผ่นตาเป็นรูปหน้าสิ่ว
    3. สอดแผ่นตาเข้าไปในเปลือกไม้รูปตัว T โดยให้ตาพันธุ์ดีแนบสนิทกันพอดี
    4. พันด้วยพลาสติกใสให้แน่น
tidta11 tidta12
2. การติดตาแบบเพลท หรือแบบเปิดเปลือกไม้ (Plate Budding)
เป็นวิธีการติดตาที่คล้ายการติดตาแบบตัว T แต่ขนาดต้นตอใหญ่กว่าแบบตัว T เหมาะสำหรับพืชที่มีน้ำยาง เช่น ยางพารา ขนุน หรือพืชที่สร้างรอยประสานช้า เช่น มะขาม และที่สำคัญคือ ต้นตอและตาพันธุ์ดีต้องลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกได้ง่าย
วิธีการทำแผลบนต้นตอ
  1. การทำแผลรูปเข็มเย็บกระดาษ (Plate Budding) โดยกรีดเปลือกไม้เป็นแนวยาวขนานกับลำต้นหรือกิ่งต้นตอ ๒ แนว ห่างกันประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร จากนั้นตัดรอยขนานด้านบนแบบรูปเข็มเย็บกระดาษคว่ำเผยอเปลือกไม้ แล้วตัดเปลือกไม้ออกประมาณ ๒/๓ ของความยาวแผล
  2. การทำแผลแบบตัว H หรือสะพานเปิด (H Budding) เป็นวิธีการทำแผลเป็นรูปคล้ายสะพานเปิดโดยการกรีดเปลือกไม้เป็นแนวขนานกับลำต้น ๒ แนว แล้วกรีดตรงกลางขวางรอยแนวกรีดขนาน เผยอเปลือกไม้ด้านบนขึ้นและส่วนด้านล่างของแผลเผยอลงคล้ายสะพานเปิด
  3. การทำแผลแบบเปิดหน้าต่าง ๒ บาน (I Budding) โดยกรีดเปลือกไม้ตามแนวยาวของลำต้น ๑ แนว แล้วกรีดขวางลำต้น ๒ แนว ทั้งด้านบนและด้านล่าง แล้วเผยอเปลือกไม้ออกทางด้านข้างคล้ายการเปิดหน้าต่าง
  4. การทำแผลเป็นรูปจะงอยปากนก (Triangle Budding) โดยกรีดเปลือกไม้ขนานไปตามความยาวของลำต้นหรือต้นตอโดยให้ส่วนล่างของแผลเรียวเข้าหากันเป็นรูปปากนก แล้วเผยอปากแผลจากด้านล่างคล้ายปากนกขึ้น ตัดเปลือกทิ้ง ๒/๓ ของความยาวรอยแผล
การเตรียมแผ่นตาพันธุ์ดี
ทำการเฉือนแผ่นตาแบบรูปโล่แล้วลอกเนื้อไม้ที่ติดมากับแผ่นตาออก (ทุกแบบของการติดตาแบบเพลทจะเตรียมแผ่นตาแบบรูปโล่)
การสอดแผ่นตา
สอดแผ่นตารูปโล่เข้าไปในแผลของต้นตอสัมผัสกับเนื้อไม้โดยให้เปลือกไม้ที่เผยอออกหุ้มแผลตาไว้ บางวิธีเปลือกไม้อาจต้องหุ้มแผ่นตาไว้ หรือตัดส่วนเปลือกไม้ที่เกินออก ๒/๓ ของรอยแผลเพื่อให้ส่วนตาโผล่พ้นรอยแผล
การพันพลาสติก
พันพลาสติกให้แน่นโดยพันจากส่วนล่างขึ้นบนให้หุ้มแผ่นตาทั้งหมด
3. การติดตาแบบแพทซ์ หรือแผ่นปะ (Patch Budding)
เป็นการติดตาอีกแบบหนึ่งโดยนำแผ่นตาพันธุ์ดีปะไปบนรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้เป็นรูปต่าง ๆ นิยมใช้กับพืชที่เกิดรอยประสานเร็วและไม่มีน้ำยาง เช่น ต้นลูกเนยและชบา เป็นต้น
  1. การติดตาแบบแผ่นปะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Patch Budding)
    – เตรียมแผลบนต้นตอโดยการกรีดเปลือกไม้บนต้นตอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วลอกเปลือกไม้ออก
    – กรีดและลอกแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเท่ากับแผลบนต้นตอ
    – นำแผ่นตาที่ได้ไปปะบนรอยแผลของต้นตอ โดยเอาส่วนตาหงายขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
  2. การติดตาแบบวงแหวน (Ring Budding)
    – เตรียมแผลบนต้นตอโดยการควั่นรอบกิ่งหรือต้นตอเป็นวงแหวนเหมือนการตอนกิ่งแบบควั่นกิ่ง แล้วลอกเปลือกที่ควั่นออก
    – เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีเป็นรูปวงแหวนขนาดเท่ากับรอยแผลบนต้นตอ
    – นำแผ่นตาที่ได้ไปปะบนรอยแผลของต้นตอแล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
  3. การติดตาแบบวงแหวนแปลง (Flute Budding)
    – เตรียมแผลบนต้นตอเป็นแบบวงแหวน แต่ให้เปลือกไม้ไว้เป็นสะพานเชื่อมโยงรอยแผลที่ควั่นทั้ง ๒ ด้าน ขนาด ๑/๕ ของเส้นรอบวง
    – เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีในลักษณะวงแหวนเท่ากับแผลของต้นตอ
    – นำแผ่นตาที่ได้ไปปะลงบนแผลของต้นตอแล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
  4. การติดตาแบบลอกเปลือกแบบรูปโล่ (Skin Budding)
    – เตรียมแผลบนต้นตอแบบรูปโล่ แต่ไม่ติดเนื้อไม้แล้วลอกเปลือกไม้ออก
    – เตรียมแผ่นตาเป็นรูปโล่ขนาดเท่ากับรอบแผลบนต้นตอและลอกเนื้อไม้ทิ้ง
    – นำแผ่นตาที่ได้ไปปะบนรอยแผลของต้นตอแล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
tidtapatatidtapabtidtapatidtamad
4. การติดตาแบบชิปหรือไม่ลอกเนื้อไม้ (Chip Budding)
วิธีการติดตาแบบนี้นิยมใช้กับพืชที่ลอกเปลือกไม้ออกยากหรือเปลือกไม้บางและเปราะ ขนาดต้นตอประมาณ ๐.๕ นิ้ว เหมาะสำหรับการติดตาองุ่น เงาะ และไม้ผลอื่นที่ลอกเปลือกไม้ยาก
  1. วิธีการติดตาแบบชิบ (Chip Budding)
    เตรียมแผลต้นตอโดยการเฉือนเนื้อไม้และทำบ่าด้านบนและด้านล่างของปากแผลในลักษณะบ่าเอียงเข้าหากัน เฉือนแผ่นตาเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดที่สามารถสอดเข้ารอยแผลของต้นตอได้ สอดแผ่นตาเข้าไปในรอยแผลของต้นตอทางแนวด้านข้าง และจัดให้แผ่นตารับกับรอยบ่าที่ทำไว้ให้สนิท แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
  2. วิธีการติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๑ (Modified Chip Budding I)
    1. เตรียมแผลต้นตอโดยการเฉือนเนื้อไม้เป็นรูปโล่ และทำบ่าที่ด้านล่างของรอยแผล
    2. เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีแบบรูปโล่โดยตัดหลังปากแผลด้านล่างเป็นรูปหน้าสิ่วสำหรับที่จะสอดแผ่นตาเข้าไปรับบ่าของรอยแผลบนต้นตอได้ผลดี
    3. สอดแผ่นตาจากด้านบนลงด้านล่างให้เข้ากันสนิท แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
  3. วิธีการติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๒ (Modified Chip Budding II)
    1. เตรียมแผลบนต้นตอเหมือนวิธีที่ ๑ เพียงแต่เฉือนปากแผลส่วนบนขึ้นไปเข้าเนื้อไม้
    2. เตรียมแผ่นตาพันธุ์ดีแบบวิธีติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๑
    3. สอดแผ่นตาเข้าไปขัดในร่องบ่าด้านล่างและให้ปลายแผ่นตาด้านบนเข้าตรงรอยผ่าของปากแผลด้านบนพอดี แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
  4. วิธีการติดตาแบบชิปแปลงวิธีที่ ๓ (Modified chip Budding III)
    1. เตรียมแผลต้นตอเหมือนวิธีที่ ๑ เพียงแต่เฉือนบ่าลึกเข้าเนื้อไม้ในแนวขนานกับลำต้น
    2. เตรียมแผ่นตาพันธุ์แบบชิปแปลงวิธีที่ ๑
    3. สอดแผ่นตาพันธุ์ดีเข้าตรงรอยผ่าจากบ่าลงไปในเนื้อไม้บนต้นตอ แล้วพันพลาสติกให้แน่น
การปฏิบัติหลังจากทำการติดตา
  1. ประมาณ ๗-๑๐ วัน ให้สังเกตดูแผ่นตาที่ทำการติดไว้ ถ้ายังสดหรือมีสีเขียวแสดงว่าแผ่นตาติดและเริ่มประสานกับเยื่อเจริญของต้นตอ จึงทำการกรีดพลาสติกที่พันให้ตาโผล่ออกมา
  2. เมื่อตาโผล่ออกมาเป็นยอดอ่อนแล้วจึงแก้พลาสติกที่พันไว้เดิม แล้วพันด้วยพลาสติกใหม่บริเวณส่วนเหนือและใต้ยอดอ่อนที่โผล่ออกมาใหม่จนกว่ารอยประสานบริเวณที่ทำการติดตานั้นประสานกันสนิทเป็นเนื้อเดียวกันจึงค่อยแก้พลาสติกออกให้หมด
  3. กรณีที่ตาที่ติดไม่แตกยอดออกมาเป็นยอดอ่อนจำเป็นต้องทำการบังคับซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
tidtamadmid
วิธีการบังคับตา ทำได้หลายวิธีดังนี้
  1. ใช้วิธีโน้มยอดของต้นตอลงมาในทิศทางตรงกันข้ามกับส่วนที่ติดตา
  2. ควั่นหรือบากเปลือกต้นตอเหนือบริเวณที่ทำการติดตาซึ่งอยู่ด้านเดียวกับตาที่ติด
  3. ตัดยอดดต้นตอให้สั้นลง โดยให้มีใบติดอยู่ประมาณ ๔-๕ ใบ เหนือบริเวณที่ทำการติดตา
  4. ตัดยอดต้นตอให้สั้นชิดตาที่ติด
  5. บังคับตาโดยใช้ฮอร์โมนป้ายที่ตาเพื่อให้ตาแตกออกมาใหม่ การบังคับตาอาจต้องทำหลาย ๆ วิธีช่วยกันเพื่อให้ตาแตกเร็วขึ้น
tidtaperd




ที่มา
ห้องสมุดความรู้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โดย สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://web.ku.ac.th/nk40/nk/

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !


          ยังไม่ทันไรฝนก็โปรดมาสั่งลากิจกรรมกลางแจ้งซะแล้ว ถ้าไม่อยากนั่งเฉย ๆ ให้ความเหงาเกาะกินในช่วงหน้าฝน มาลงมือปลูกผักสวนครัวในบ้านแก้เซ็งกันเถอะ
 

          ย่างเข้าสู่หน้าฝนเมื่อไหร่ นานากิจกรรมกลางแจ้งเป็นอันต้องงดทันที ถ้าไม่อยากตกอยู่ในภวังค์แห่งความเหงาและเศร้าเพราะสายฝนอีกต่อไป งั้นลองมาปลูกพืชผักสวนครัวในบ้านแบบมีสไตล์กันดีกว่า วันนี้กระปุกดอทคอมจึงอยากจะขอนำเสนอ 15 ไอเดียการปลูกผักสวนครัวในบ้านไว้กินช่วงฝนพรำ แก้อาการเบื่อ เหงา เศร้า เซ็ง ให้คุณได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงหน้าฝนนี้ ที่เว็บไซต์ homedit รวบรวมมาให้เราได้ดูกันค่ะ
 

15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก urbangardensweb 
 
 1. ปลูกหลากชนิดในกระถางเดียว

          หากอยากปลูกผักสวนครัวหลากหลายชนิดไว้รับประทาน แต่ที่บ้านไม่มีพื้นที่เพียงพอ แนะนำให้หากระถางที่มีหน้ากว้างมา 1 ใบ แล้วนำเมล็ดผักสวนครัวที่ชอบมาปลูกไว้ในกระถางนั้นทีเดียวไปเลย และนำป้ายชื่อของผักชนิดนั้น ๆ มาติดไว้กันลืมชื่อด้วย


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก foxyfolksy 

 2. สมุนไพรแขวนเชือก แขวนไว้ไม่เกะกะเนื้อที่
          ปลูกผักสวนครัวด้วยวิธีแขวนเชือกนอกจากจะช่วยให้เราประหยัดเนื้อที่ภายในบ้านได้แล้ว ยังช่วยแต่งผนังห้องที่โล่ง ๆ ให้มีสีสันและสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับบ้านได้จนกลายเป็นประโยชน์ได้หลายต่อ


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก missmoss 

 3. ชั้นหนังสือสมุนไพร พลิกตำราอาหารพร้อมเด็ดสมุนไพรไปปรุงแบบสด ๆ

          เมื่อถึงคราวที่ต้องโละของเก่าทิ้งก็อย่าเพิ่งชิงทิ้งชั้นวางหนังสือเก่าไปก่อนล่ะ เพราะมันยังสามารถนำกลับมาสร้างมุมผักสวนครัวเล็ก ๆ ในบ้านช่วงหน้าฝนได้ หรืออาจจะโยกย้ายไปติดตั้งไว้ในครัว และการขอแบ่งพื้นที่บนชั้นวางเอาไว้วางหนังสือทำอาหารก็แอบดูมือโปรไม่เบา


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก urbilis 

 4. ผักสวนครัวใส่กรอบติดผนัง สร้างศิลปะบนพืชพรรณ

          เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการปลูกผักสวนครัวที่สามารถแต่งบ้านได้ด้วย เพราะเราจะปลูกใส่ไว้ในกล่องไม้ที่มีลักษณะเหมือนกรอบรูปและนำเอาไปติดไว้ข้างฝาผนังในแนวตั้ง ราวกับว่าเป็นงานศิลปะที่เอามาตั้งโชว์ในบ้านแถมยังใช้ปรุงอาหารได้อีกด้วย


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก lorisetlivia 

 5. ผักสวนครัวบนเพ็กบอร์ด เก็บของก็ได้ปลูกต้นไม้ก็ดี

          ถ้าในครัวของคุณมีเพ็กบอร์ดไม้ที่เอาไว้แขวนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็อยากจะขอเบียดพื้นที่บนบอร์ดเพียงนิด เพื่อนำกระถางผักสวนครัวมาปลูก เมื่อถึงคราวจำเป็นที่จะต้องใช้ผักสวนครัวก็เอื้อมมือไปเด็ด ไม่ต้องเสียเวลาเดินเข้าไปเก็บผักถึงในสวน


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก itsy-bits-and-pieces 

 6. สมุนไพรริมหน้าต่าง ลบบรรยากาศเบื่อ ๆ ในหน้าฝน

          ไหน ๆ ก็ย่างเข้าฤดูฝนแล้วเราก็คงไม่ได้เปิดหน้าต่างรับลมกันบ่อยนัก ฉะนั้นอยากจะให้นำแผงราวแขวนมาติดตั้งไว้ที่ริมหน้าต่าง ก่อนจะนำกระถางปลูกผักสวนครัวแบบมีหูมาแขวนอีกที จะได้ช่วยบิวท์อารมณ์ให้คุณไม่รู้สึกเบื่อเมื่อหันไปมองสายฝนที่หน้าต่าง


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก sfgirlbybay 

 7. ผักสวนครัวรถเข็น เคลื่อนที่ไปในที่ต้องการใช้
          ขอบอกเลยว่าการปลูกผักสวนครัวใส่รถเข็นค่อนข้างจะเจ๋งกว่าวิธีอื่น ๆ เพราะนอกจากจะมีผักสวนครัวสด ๆ ไว้ใช้ในครัวแล้ว เรายังสามารถโยกย้ายบรรดาผักเหล่านั้นไปไหนมาไหนตามการใช้งานได้อีกด้วย


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก constantcontact 
  8. สวนผักแนวตั้ง สร้างเอกลักษณ์ให้กับการปลูกพืช 
          ปลูกผักสวนครัวแบบแขวนกับเชือกกันมาแล้ว อยากให้ลองหันมาเปลี่ยนสไตล์เป็นแบบปลูกผักสวนครัวในแนวตั้งเรียงกันเป็นแถวเดียวดูสิคะ แค่ตัดแผ่นไม้มาทำเป็นฐานให้มีขนาดเท่า ๆ กัน จากนั้นเจาะรูที่มุมแผ่นไม้ทั้ง 4 มุมแล้วร้อยเชือกลงไป ก่อนจะนำกระถางผักมาวาง รับรองว่าดูเก๋เหมือนชิงช้าและน่ารักไม่แพ้ใครชัวร์


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก intimateweddings 

 9. พืชสวนครัวในแก้ว ดื่มแล้วเบื่อก็เผื่อมาปลูกพืช

          มาเอาใจชาวฮิปสเตอร์ที่รักธรรมชาติกันหน่อยกับการปลูกผักสวนครัวต้นเล็ก ๆ ไว้ในแก้วน้ำ แก้วชา หรือแก้วกาแฟที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะวางไว้ตรงมุมไหนของบ้านก็ช่วยสร้างบรรยากาศให้ดูดีมีสไตล์ไม่ซ้ำใครทั้งนั้น 


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก lightlocations 

 10. ผักสวนครัวในเคาน์เตอร์ครัว หันตัวไปก็หยิบมาใช้ได้แล้ว

          สไตล์การปลูกผักในเคาน์เตอร์ครัวแบบนี้ ช่วยให้เราได้วัตถุดิบที่สดใหม่จากต้นมาใช้เลยทันที ลองเข้าไปสำรวจเคาน์เตอร์ที่บ้านดูนะคะ ว่ามีช่องที่สามารถเอาไว้ปลูกต้นไม้ได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ลองปลูกดูแล้วคุณจะติดใจกับผักสวนครัวสด ๆ จนไม่อยากจะย้ายกระถางปลูกนอกบ้านอีกเลย


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก beersnbeans 

 11. กระบะผักสวนครัวติดผนัง หลีกตัวขึ้นด้านข้างไม่สร้างความรก 
          ความสดใหม่ของผักสวนครัวที่อยู่ในครัวเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ถ้าหากพื้นที่ในครัวไม่เอื้ออำนวยก็อย่าได้เสียใจไป เพราะเราสามารถปลูกผักสวนครัวเอาไว้ในกระบะพลาสติกหรือกระบะไม้ แล้วนำมาติดผนังไม่ให้เกะกะทางเดินในครัวก็ได้ค่ะ


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก suburbanbitches 

 12. ผักสวนครัวในรางน้ำเก่า 

          โดยหารางน้ำเก่า ๆ ในสไตล์วินเทจมาตัดแบ่งตามขนาดที่เราต้องการ และจัดการตกแต่งเพิ่มเติมตามสไตล์ที่เราชื่นชอบก่อนนำผักสวนครัวมาปลูก จะติดไว้ที่ผนังหรือริมหน้าต่างก็ได้ตามความเหมาะสมเลย 


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก Paul Vitale 

 13. ผักสวนครัวกลับหัว โชว์ทักษะใหม่ของการปลูกต้นไม้

          มาเปลี่ยนมุมมองในการปลูกต้นไม้แบบธรรมดา ให้ดูแปลกตาก็น่าจะช่วยแก้เซ็งช่วงหน้าฝนได้ดี ด้วยการปลูกผักสวนครัวในกระถางแบบแนวตั้งก่อน จากนั้นนำแผ่นพลาสติกมาคลุมปิดหน้าดินไม่ให้ดินร่วงลงมาเท่านั้นเอง  


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก camillestyles 

 14.  ปลูกผักสวนครัวในขวดโหล ไอเทมใหม่ที่ใคร ๆ ก็ต้องปลูก

          ดูเหมือนว่าขวดโหลจะกลายเป็นไอเทมที่ใคร ๆ ก็ต้องมีติดบ้านไว้ เพราะด้วยขนาดกะทัดรัดจึงทำให้เหมาะกับการปลูกผักสวนครัวไว้ในบ้านแทนกระถางต้นไม้ดินเผาที่สุด โดยปลูกไว้ต้นละขวดแล้วใช้วงแหวนล็อกไว้กับบอร์ดไม้


15 ไอเดียปลูกผักสวนครัวในบ้าน กิจกรรมยามว่างเมื่อฝนฟ้ามาเยือน !
ภาพจาก smallhomelove 

 15. ปลูกผักสวนครัวใส่กระบะสังกะสี ตามใจคนชอบของเก่า

          อยากแต่งบ้านให้มีสไตล์วินเทจไม่ยาก แค่ปลูกผักสวนครัวใส่ไว้ในกระบะสังกะสีเก่า ๆ ก็ช่วยสร้างบรรยากาศในบ้านเราให้ดูย้อนยุคขึ้นมาได้ทันที แถมยังมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกับกระถางต้นไม้ดินเผาทั่วไปด้วย

          อย่าปล่อยให้อารมณ์ เหงา เศร้า เบื่อ เซ็ง ไปกับหน้าฝน มาลงมือปลูกพืชผักสวนครัวไว้ปรุงอาหารกินเองที่บ้านดีกว่า เพราะนอกจะใช้ช่วงเวลาในหน้าฝนให้เป็นประโยชน์แล้ว เรายังได้ผักสด ๆ เอาไว้กินเองอีกด้วยนะ





ลุงสุขาโน- อาหารเสริมพืช

ขอขอบคุณข้อมูลจาก homedit 

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

http://line.me/ti/p/%40lungsuk

6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ 

ไม่ต้องใช้ที่เยอะ ^__^

เดี๋ยวนี้กระแส Slow Life มาแรง เพราะผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายกับความรวดเร็วแต่ฉาบฉวยมากขึ้นทุกที การปลูกผักเองก็เช่นกันค่ะ แม้ว่าการไปช้อปในตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตจะสะดวกง่ายดาย แต่เมื่อเทียบกับการปลูกทานเองแล้ว คุณค่าทางใจและคุณค่าที่ร่างกายจะได้รับมันต่างกันมากทีเดียว สาวคนไหนชอบทานผัก Women Society ขอชวนมาปลูกผักสวนครัวไว้กินใบกันนะคะ วิธีนั้นไม่ยากอะไร แถมยังใช้พื้นที่แค่นิดเดียวเท่านั้น ช่างเหมาะกับคนเมืองที่มีพื้นที่น้อยจริงๆ ค่ะ


6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้ที่เยอะ
กระเทียม
เอาหัวแก่ๆ มาวางบนทิชชู่หรือสำลีชุบน้ำ แล้วตั้งไว้ริมหน้าต่างที่มีแดดรำไร จากนั้นก็ค่อยหมั่นพรมน้ำให้ชื้นอยู่เสมอ (ระวังอย่าแฉะเกินไปเพราะอาจเน่าได้) ไม่ช้าไม่นานก็จะงอกออกมาให้ชื่นใจ พอโตได้ที่ก็เอาไปลงดินได้เลย ครบ 1 เดือนก็จะมีใบโตเต็มที่เอามาผัดน้ำมันหอยทานให้อร่อยไปเลย

6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้ที่เยอะ
ผักชี
เพียงใช้ส่วนโคนของต้นผักชีที่มีรากติด แช่ไว้ในขวดน้ำ ก็จะแตกยอดใหม่เรื่อยๆ แต่ถ้าโตไม่ทันใจหรืออยากให้ใบใหญ่ขึ้นก็สามารถย้ายลงปลูกในดินได้ค่ะ


6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้ที่เยอะ
แครอท
ตัดเฉพาะส่วนหัวของแครอท วางไว้ในภาชนะแบนๆ ที่ใส่น้ำพอปริ่มอย่าให้ท่วมหัวแครอท ไม่นานก็จะแตกยอดให้นำไปประกอบอาหารได้ ซึ่งใบแครอทนี่สามารถเอาไปทำเมนูอร่อยได้มากมายเลยล่ะค่า


6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้ที่เยอะ
ต้นหอม
วิธีปลูกคล้ายๆ กับกระเทียมแต่ใช้น้ำมากกว่า โดยเลือกต้นอวบๆ ตัดเอาเฉพาะส่วนหัวที่มีรากติดใส่ในแก้วก้นลึก หรือขวดโหลใบย่อมๆ จากนั้นเทน้ำสะอาดให้พอท่วมราก แล้ววางไว้ในห้องที่มีแสงสว่าง หรือริมหน้าต่างที่มีแดดรำไร ต้นหอมก็จะงอกให้เราเด็ดใบทานได้เรื่อยๆ ค่ะ 



6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้ที่เยอะ
ผักคึ่นช่ายหรือขึ้นฉ่าย
นำส่วนโคนของขึ้นฉ่ายใส่ในถ้วย เติมน้ำลงไปพอให้ท่วมราก ไม่นานขึ้นฉ่ายจะแตกยอดออกมาใหม่ พร้อมนำไปปลูกลงดินได้ค่ะ



6 ไอเดีย 'ปลูกผักสวนครัว' ไว้กินใบ ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้ที่เยอะ
ผักกาดหวาน
นำส่วนโคนผักกาดใส่ถ้วยก้นลึก แล้วเทน้ำลงไปประมาณครึ่งนิ้ว วางเอาไว้ริมหน้าต่างที่มีแดดรำไร ภายใน 3-5 วันก็จะเริ่มแตกยอดใบใหม่ออกมา พอเริ่มแตกยอดสูงได้ที่ก็ย้ายลงปลูกในดินต่อได้เลย  ซึ่งเราสามารถเลือกใช้กระถางใบย่อมๆ ได้ไม่เปลืองเนื้อที่ จึงปลูกริมระเบียงได้สบายค่ะ


     แต่ละวันที่ผักต้นน้อยๆ เติบโต เราจะรู้สึกดีและภูมิใจในตัวเองมาก แถมสีเขียวๆ ของใบไม้ยังมีผลต่อสมองด้วยค่ะ โดยจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อสายตา และกระตุ้นให้สมองเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น การปลูกผักเองจึงถือเป็นการพักผ่อนที่ได้ประโยชน์ถึงสองต่อเลยทีเดียว สาวๆ Women Society  ลองนำไอเดียไปทำกันดูนะคะ ^^











ขอบคุณภาพจาก The Idea King 生活智慧王